UNBOWED NATURE

 บริษัท ธ. ไก่ชน จำกัด 

Text: กรกฎ หลอดคำ
Photo: ฉัตรชัย เจริญพุฒ

เริ่มจากความชอบในการใช้องค์ประกอบของไม้ไผ่มาประกอบในงานออกแบบของตัวเอง คุณตั้บ-ธนพัฒน์ บุญสนาน สถาปนิกหนุ่มจากรั้วมหาวิทยาลัยศิลปากร สั่งสมประการณ์ในงานสถาปัตยกรรมนานร่วม 2 ปี จนกระทั่งค้นพบศรัทธาในปล้องของพืชท้องถิ่นที่เป็นเสมือนใบเบิกทางของชีวิต จึงเป็นที่มาของสำนักงานสถาปัตย์และบริษัททรีตเมนต์ไม้ไผ่เพื่องานสถาปัตยกรรมในชื่อที่ใครเห็นก็ต้องสงสัย บริษัท ธ.ไก่ชน จำกัด นั่นเอง

141112เมื่อพูดถึงอาคารที่สร้างจากไม้ไผ่ อย่างไรเสียก็อดไม่ได้ที่จะต้องคิดถึงกระท่อมหรืออาคารชั่วคราวที่เน้นการก่อสร้างที่รวดเร็ว แต่หลังจากที่ได้เรียนรู้ว่า แป้งและน้ำตาลในเนื้อไม้ไผ่เป็นอาหารจานโปรดของแมลงและมอดซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไม้ไผ่ที่เรารู้จักกันโดยทั่วไปมีอายุสั้นและถูกทำลายได้ง่าย และจวบจนทุกวันนี้ก็มีวิธีที่สามารถหยุดปลวก มอด และแมลงต่างๆ ไม่ให้มากินเนื้อไม้ได้อย่างถาวร จึงทำให้เราต้องมองไม้ไผ่ด้วยสายตาใหม่ในมุมที่ต่างออกไป “อาคารควรมันเล็กเขาก็ไม่ได้ซีเรียสอะไร ทีนี้พออาคารมันเริ่มใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ มันมีงานวิศวกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง อันนี้คือคีย์เลย การทรีตเมนต์ไม้ไผ่ที่โรงงานเนี่ย ไม้ไผ่มันไม่ผุแล้ว คือเมื่อก่อนเขาไม่สร้างอาคารไม้ไผ่เป็นอาคารถาวร เพราะเขารู้ว่าต่อไปมอดมันก็จะมากิน มันก็จะผุพังลงมา”

15คุณตั้บ ธนพัฒน์ บุญสนาน ในสำนักงานสถาปนิกและโรงงานไม้ไผ่ ธ.ไก่ชน ของเขา ณ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ไม่ใกล้ไม่ไกลจากเขตกรุงเทพมหานคร คุณตั้บใช้ที่นี่เป็นทั้งที่ทำงานออกแบบ ดูแลกระบวนการทรีตเมนท์ไม้ไผ่ เป็นที่อยู่อาศัยในบางเวลา และบ่อยครั้งก็เป็นที่พบปะของเพื่อนฝูง ที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนโรงงานไม้ไผ่และขอชมผลงานไม้ไผ่ของเขา


หัวใจหลักของการทำงานของ ธ.ไก่ชน คือการรักษาไม้ไผ่ให้แมลงและมอดรู้ว่า เนื้อไม้ไผ่ไม่ใช่อาหารของมันอีกต่อไป จุดนี้เองจึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่อไม่ต้องคำนึงถึงการผุพังจากอายุการใช้งานที่สั้นแล้ว การรีดความสามารถจากไม้ไผ่ในฐานะที่เป็นวัสดุก่อสร้างที่ยืดหยุ่นและแข็งแรงที่สุดอันหนึ่ง รวมไปถึงการเป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายและเติบโตทดแทนได้รวดเร็ว จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายและได้รับความสนใจจากวงการออกแบบทั่วโลก ณ ห้วงเวลาปัจจุบัน

“จริงๆ ไม้ไผ่ พอมันโตขึ้น ไม่ได้หมายความว่ามันจะโตไปเป็นขนาดที่เท่าคานเท่าอะไร แต่คือชนิดพันธุ์มันโตสุดได้แค่นี้ ชนิดหนึ่งก็เต็มที่ 1 นิ้ว 2 นิ้ว 3 นิ้วไป เราถึงต้องเปลี่ยนชนิดพันธุ์ บางชนิดพันธุ์มันก็เท่าแค่นิ้วก้อยมันไม่ใหญ่ไปกว่านี้อีกแล้ว’

010706130403

คุณตั้บได้อธิบายถึงความแตกต่างของไม้ไผ่ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางต่างกัน โดยไม้ไผ่ที่ ธ.ไก่ชน ทรีตเมนต์เพื่อการจำหน่าย ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ไผ่หลักๆ ได้แก่ ไผ่รวก ไม้ไผ่ขนาดเล็กมาก ที่มีขนาดเพียง 1-2 เซนติเมตร ใช้สำหรับงานตกแต่งที่่ต้องการดีเทลของความละเอียดจากไม้ไผ่, ไผ่เลี้้ยง ไม้ไผ่ขนาด 1 นิ้ว ใช้สำหรับตกแต่งฝ้าเพดาน ระแนง และ ขนาด 1 นิ้้ว ใช้กรุผนัง ปูพื้น หรือโครงสร้างไม้ไผ่ขนาดเล็ก เช่น แป กลอน ของโครงสร้างหลังคา, ไผ่ตง ไผ่ซางนวล ไผ่เขียว ไผ่ซางหม่น ไผ่สาสุก ไม้ไผ่ขนาดกลาง ตั้งแต่ 3-4 นิ้ว ใช้สำหรับงานโครงสร้างขนาดเล็ก เช่น อะเส จันทัน อกไก่ ของโครงสร้างหลังคา โครงเคร่าผนัง โครงสร้างเสาของศาลาขนาดเล็ก โครงสร้างพื้นที่มีช่วงพาดไม่มาก และไผ่ตง พันธุ์ไม้ไผ่ขนาด 5 -7 นิ้ว ที่่ถูกใช้เป็นส่วนประกอบหลักของโครงสร้าง เนื่องจากมีความแข็งแรงและทนทาน โดยสามารถใช้ได้ทั้งส่วนของเสา คาน และโครงสร้างพื้น

โดยกระบวนการในการทรีตเมนต์ไม้ไผ่ เริ่มจากการเจาะรูกลางลำไม้ไผ่เพื่อเปิดช่องให้น้ำยาสามารถซึมเข้าไปในเนื้อไม้ จากนั้นจึงนำไม้ไผ่ไปแช่ในน้ำยาโดยใช้เวลาประมาณ 7-20 วัน ตามแต่พันธุ์และขนาดของไม้ แล้วเสร็จจึงนำไปตากให้แห้งโดยต้องตากในร่มเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแตกของไม้


“ไม่ต้องกังวลหรอกว่ากฎหมายไม้ไผ่ไทยมันยังไม่มี คนไม่รักไม้ไผ่ ไม่ชอบไม้ไผ่ เราทางานเราให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ให้แน่นขึ้นเรื่อยๆ พร้อมเสมอ ที่เมื่อวันหน้า โอกาสมันเปิดแล้ว เราจะสามารถทางานได้ในสเกลที่มั่นใจที่ต้องการสร้างสถาปัตยกรรมไม้ไผ่ให้เป็นตัวอย่าง เพื่อผลักดันการพัฒนาวงการดีไซน์ไม้ไผ่ต่อไป”

– ธนพัฒน์ บุญสนาน –


ความตั้งใจหนึ่งที่ ธ.ไก่ชน ต้องการที่จะทำให้สำเร็จในเวลาอันใกล้ นั่นคือ การพัฒนาน้ำยาแช่ไม้ไผ่จากน้ำยาเคมีไปสู่น้ำยาออร์แกนิก เพราะถึงแม้ว่าน้ำยาที่ใช้แช่ไม้ไผ่ในปัจจุบันจะเป็นน้ำยาปลอดสารพิษที่ไม่เป็นอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อม แต่ส่วนผสมของน้ำยาเองยังคงเป็นสารเคมีในการสร้างกระบวนการรักษาเนื้อไม้ไผ่เพื่อป้องกันแมลงต่างๆ การขยับออกขั้นสู่การทรีตเมนต์ไม้ไผ่ด้วยน้ำยาที่ผลิตจากพืชได้ จึงเป็นสิ่งที่ ธ.ไก่ชน กำลังพยายามพัฒนาให้บริษัทสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นออร์แกนิกได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพื่อการก้าวสู่การเป็นนักออกแบบสถาปัตยกรรมเขียวได้อย่างสุดทาง

คุณตั้บยืนยันถึงความหนักแน่นของงานดีไซน์ไม้ไผ่ไทยในเวทีสากล ด้วยการเข้ารอบการประกวด ‘SINGAPORE BAMBOO SKYSCRAPER ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยคว้ารางวัลที่ 4 ไปเมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา โดยความตั้งใจของคุณตั้บ คือการมุ่งพัฒนาพันธุ์ไม้ไผ่ท้องถิ่นที่หาได้ไม่ยาก สู่งานสถาปัตย์ที่สามารถตอบโจทย์ได้ในทุกแง่มุมของงานสถาปัตยกรรม วิศวกรรม จนถึงสามารถขออนุญาตก่อสร้าง เป็นอาคารที่คนโดยทั่วไปยอมรับว่าสามารถสร้างให้เป็นอาคารที่ถาวรได้ เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซีย เวียดนาม ที่มีกฎหมายและนวัตกรรมต่างๆเอื้ออำนวยแล้วในปัจจุบัน จนทำให้สามาถพัฒนาวงการสถาปัตยกรรมไม้ไผ่ได้อย่างก้าวกระโดด อย่างไรก็ตามคุณตั้บได้เหตุผลในแง่มุมในเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ

“ไม่ต้องกังวลหรอกว่ากฎหมายไม้ไผ่ไทยมันยังไม่มี คนไม่รักไม้ไผ่ ไม่ชอบไม้ไผ่ เราทำงานเราให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ให้แน่นขึ้นเรื่อยๆ พร้อมเสมอ ที่่เมื่อวันหน้า โอกาสมันเปิดแล้ว เราจะสามารถทางานได้ในสเกลที่มั่นใจที่ต้องการสร้างสถาปัตยกรรมไม้ไผ่ให้เป็นตัวอย่าง เพื่อผลักดันการพัฒนาวงการดีไซน์ไม้ไผ่ต่อไป”

30ซุ้มไม้ไผ่ซึ่งเป็นทางเข้าโรงงาน ธ.ไก่ชน ที่ออกแบบโดย คุณตั้บ สถาปนิกเจ้าของสถานที่ นอกจากจะมีรูปลักษณ์ที่ไม่เหมือนกับอาคารไม้ไผ่ทั่วไปที่เคยเห็น ยังกลมกลืนไปกับธรรมชาติแวดล้อม ซุ้มไม้ไผ่สูงโปร่งนี้เป็นตัวอย่างของการใช้ประโยชน์จากความสามารถขีดสุดของไม้ไผ่ สร้างสรรค์เป็นงานออกแบบที่ไม่มีวัสดุอื่นลอกเลียนแบบได้


66666666ไผ่รวกเขาเหมาะสำหรับใช้ตกแต่งงานออกแบบสถาปัตยกรรม เป็นไม้ไผ่พันธุ์เล็กที่แก่จัด มีความแข็งแรง


08กระบวนการเจาะกลางลำปล้องของไม้ไผ่ เพื่อนำไปผ่านกระบวนแช่น้ำยารักษาเนื้อไม้ และตากแห้งรอให้พร้อมใช้งานต่อไป


0000
การแช่น้ำยาของไม้ไผ่ เพื่อป้องกันจากแมลง มอด ปลวกไม่ให้เข้าไปกัดกินทำลายเนื้อไม้


05ไม้ไผ่ที่ผ่านกระบวนการทรีตเมนท์แล้ว พร้อมที่จะจำหน่ายหรือสร้างเป็นงานออกแบบสถาปัตยกรรมต่อไป 


Contact: บริษัท ธ.ไก่ชน จำกัด
87/1 หมู่ 4 ถ.บางกรวย-จงถนอม
อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
โทร.08-4100-0233
เว็บไซต์ www.thorkaichon-bamboo.com
เฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/thorkaichon

 

Leave A Comment