S+W RESIDENCE / POAR
บ้านที่พร้อมเปิดรับสายลมและแสงเงา
จากความตั้งใจแรกที่ คุณตั๋ง-เวธิต จัยสิน และ คุณพีช-สุธาทิตย์ จันทรสอาด ผู้เป็นเจ้าของบ้านต้องการจะซื้อบ้านเก่าหลังหนึ่งในซอยเดียวกันนี้เพื่อนำมาปรับปรุงใหม่เป็นบ้านในแบบที่ตัวเองชอบ ผันเปลี่ยนมาสู่ทางเลือกที่สองคือการสร้างบ้านหลังใหม่ขึ้นบนที่ดินผืนเปล่าในรั้วเดียวกันกับบ้านของครอบครัวและเครือญาติ เพื่อที่จะยังคงได้อยู่ใกล้ชิดกันเหมือนดังเดิม จากโจทย์ดังกล่าวนั้นนำมาซึ่งสองทางเลือกในการเลือกทำเลสำหรับก่อสร้าง ระหว่างที่ดินฝั่งตะวันออกติดกับบ้านของคุณพ่อและคุณแม่ของคุณตั๋งที่อยู่ลึกเข้าไปท้ายซอย กับที่ตั้งในปัจจุบันซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างบ้านสองหลังกลางซอย ท้ายที่สุดแล้ว คุณโจ้-พัชระ วงศ์บุญสิน สถาปนิกจาก POAR l Patchara + Ornnicha ARchitects ผู้รับหน้าที่ออกแบบบ้าน S+W Residence หลังนี้ ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกับคุณตั๋งมาตั้งแต่สมัยเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ แนะนำให้เลือกที่ดินในตำแหน่งปัจจุบันก็เพราะเขามองว่าสามารถรับลมได้ดีกว่า เนื่องจากพื้นที่ด้านหลังและด้านหน้าของบ้านหลังนี้เป็นทิศเหนือและใต้ปราศจากสิ่งปลูกสร้างมากีดขวางทางผ่านของลมนั่นเอง
S+W Residence เป็นบ้านพักอาศัย 2 ห้องนอน 1 ห้องนั่งเล่น ขนาดพื้นที่ใช้สอย 180 ตารางเมตร ถูกสร้างขึ้นบนที่ดินขนาด 40 ตารางวา ซึ่งมีหน้ากว้างเพียง 10 เมตรเท่านั้น อีกทั้งยังขนาบข้างด้วยบ้านของคุณพ่อและคุณแม่ทางฝั่งตะวันออก กับบ้านของคุณน้าทางฝั่งตะวันตก สถาปนิกจึงออกแบบสถาปัตยกรรมให้มีความเรียบง่ายมากที่สุด เนื่องจากต้องการให้บ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ประชิดกันเกิดความสมดุล และไม่ทำให้บริบทโดยรวมเกิดความอึดอัดคับแคบไปมากว่าเดิม ทว่าบ้านใหม่หลังนี้ก็ยังคงสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินที่มีลักษณะแคบได้เต็มพื้นที่ได้อยู่ นอกจากนี้สถาปนิกยังออกแบบให้บ้านหลังนี้เกิดความต่อเนื่องไปกับบ้านที่ขนาบข้างทั้งสองทิศ และมีการใช้พื้นที่บางส่วนร่วมกัน อย่างเช่นบริเวณบ่อปลาคาร์ฟหน้าบ้านทางฝั่งตะวันออก ตลอดจนการวัดระดับความสูงของพื้นชั้น 2 ให้เสมอกับแนวระเบียงของบ้านคุณพ่อและคุณแม่ ซึ่งในอนาคตยังสามารถปรับปรุงให้ระเบียงบ้านทั้งสองหลังนี้เชื่อมต่อกันได้อีกด้วย ในขณะที่ฝั่งตะวันตกสถาปนิกยึดเอาระยะห่างจากหน้าบ้านของคุณน้ากับแนวถนนเป็นตัวกำหนดระยะร่นจากถนนเข้ามาสู่แนวอาคารชั้น 1 ของบ้าน เพื่อสร้างความต่อเนื่องให้บริเวณลานจอดรถใต้ชั้นอาคารที่ยื่นยาวออกมา กับลานกว้างหน้าบ้านของคุณน้ามีความสอดคล้องเชื่อมต่อกันอย่างพอดี

แนวระเบียงบนชั้น 2 ของบ้านทางฝั่งทิศตะวันออกเป็นจุดที่มีมุมมองเปิดกว้าง เนื่องจากบ้านหลังนี้ทิ้งระยะห่างจากบ้านหลังอื่นๆ ในหมู่บ้านเดียวกันอยู่พอสมควร อีกทั้งยังเป็นทางเดินที่สามารถเชื่อมระหว่างห้องนอนฝั่งทิศเหนือและใต้ ตลอดจนห้องน้ำส่วนกลางระหว่างห้องนอนทั้งสองได้โดยตรงอีกด้วย

โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นตัวรับน้ำหนักกล่องอาคารชั้น 2 บริเวณห้องนอนที่ยื่นยาวออกมาให้ดูเบาลงเสมือนลอยอยู่โดยไม่ต้องมีเสามารับน้ำหนัก ทั้งยังเป็นการเปิดพื้นที่ให้ใต้อาคารสามารถจอดรถได้ถึง 3 คัน โดยไร้สิ่งกีดขวาง

บ่อปลาคาร์ฟหน้าบ้านทางฝั่งตะวันออกเปรียบเสมือนคอร์ทที่ทั้งสองบ้านสามารถใช้พื้นที่ร่วมกันได้ อีกทั้งแสงยามเช้าที่ไม่มีความร้อนซึ่งสะท้อนจากบ่อปลาคาร์ฟไปกระทบกับตัวอาคารและลอดผ่านเข้าสู่ภายในบ้าน ยังเป็นอีกหนึ่งแนวคิดหลักในการออกแบบบ้านหลังนี้ของสถาปนิก นั่นคือการเปิดช่องอาคารให้ผู้อาศัยสามารถรับรู้ปรากฏการณ์ของแสงที่เปลี่ยนไปตามช่วงเวลา

บ่อปลาคาร์ฟหน้าบ้านทางฝั่งตะวันออกเปรียบเสมือนคอร์ทที่ทั้งสองบ้านสามารถใช้พื้นที่ร่วมกันได้ อีกทั้งแสงยามเช้าที่ไม่มีความร้อนซึ่งสะท้อนจากบ่อปลาคาร์ฟไปกระทบกับตัวอาคารและลอดผ่านเข้าสู่ภายในบ้าน ยังเป็นอีกหนึ่งแนวคิดหลักในการออกแบบบ้านหลังนี้ของสถาปนิก นั่นคือการเปิดช่องอาคารให้ผู้อาศัยสามารถรับรู้ปรากฏการณ์ของแสงที่เปลี่ยนไปตามช่วงเวลา
“เราอยากทำบ้านให้เป็นบ้าน ไม่ได้เป็นสถาปัตยกรรมที่คนต้องฝืนที่จะเข้าไปอยู่ข้างใน แต่ความเป็นบ้านไม่ได้สะท้อนออกมาที่หน้าตาของบ้าน มันรับรู้ได้จากการที่เราใช้งานอยู่ภายใน”
พัชระ วงศ์บุญสิน
นอกจากนี้แล้วเมื่อรวมเข้ากับโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของผู้อาศัย ซึ่งอยากมีบ้านที่สามารถเปิดรับลมและมีการเล่นกับแสงและเงาที่สวยงามได้ทั้งในเวลากลางวันจากแสงธรรมชาติ และในเวลากลางคืนจากแสงไฟประดิษฐ์ ตลอดจนการมีบ่อเลี้ยงปลาคาร์ฟที่สามารถมองเห็นได้จากทุกส่วนของบ้าน ทำให้ภาพรวมของ S+W Residence จึงมีรายละเอียดบางอย่างที่ค่อนข้างคล้ายกับบ้านพาณ หรือ Pal Residence บ้านพักอาศัยส่วนตัวของคุณโจ้ และภรรยา (คุณนิ้ม–อรณิชา ดุริยะประพันธ์) ที่ผ่านเข้ารอบ 5 ทีมสุดท้าย ASA Emerging Architecture Award 2017
“บ้านหลังนี้มีความคล้ายกับบ้าน Pal’s เนื่องจากว่าเจ้าของบ้านไม่ได้ต้องการฟังก์ชันที่พิเศษไปกว่าบ้านทั่วไป แต่จะมีความต้องการเรื่องความสวยงามทางด้านแสงสว่างและลมที่ค่อนข้างมีอิทธิพลต่อหน้าตาของอาคาร” คุณโจ้เล่าเหตุผลถึงที่มาของการออกแบบรูปลักษณ์และฟังก์ชันของบ้าน S+W Residence “บ้านหลังนี้กับบ้านของผมจึงมีความคล้ายกันในหลายๆ เรื่อง เพราะผมรู้จักกับเจ้าของบ้านและแฟนของเขาค่อนข้างดี เราจะคุยกันเยอะถึงรายละเอียดว่าการใช้งานเป็นอย่างไร และสามารถลงลึกได้ว่าแต่ละห้องเจ้าของบ้านมีความต้องการเป็นแบบไหนบ้าง ซึ่งจริงๆ แล้วจุดประสงค์ของการออกแบบทั้งบ้านของผมและบ้านหลังนี้ เราอยากทำบ้านให้มันเป็นบ้าน ไม่ได้เป็นอาร์คิเทคเจอร์ที่คนต้องฝืนที่จะเข้าไปอยู่ข้างใน แต่ความเป็นบ้านมันไม่ได้สะท้อนออกมาที่หน้าตาของบ้าน มันรับรู้ได้จากการที่เราใช้งานอยู่ภายในบ้าน”

ฟังก์ชันของพื้นที่ชั้น 1 สถาปนิกออกแบบให้ห้องเก็บของ ห้องครัว ห้องซักล้าง และห้องน้ำ มาอยู่ด้านเดียวกันทั้งหมดในทิศตะวันตกเพื่อช่วยบังแดดให้กับห้องนั่งเล่น และเปิดพื้นที่ให้ห้องนั่งเล่นเกิดความโปร่งโล่งเชื่อมด้านหน้าและหลังอาคารต่อเนื่องกันเป็นช่องลมขนาดใหญ่ นอกจากนี้แล้วแนวอาคารของบ้านฝั่งตะวันตกของคุณน้ายังทำหน้าที่เป็นเกาะป้องกันความร้อนให้กับพื้นที่ชั้น 1 ของบ้านหลังนี้ไปด้วยในตัว

ฟังก์ชันของพื้นที่ชั้น 1 สถาปนิกออกแบบให้ห้องเก็บของ ห้องครัว ห้องซักล้าง และห้องน้ำ มาอยู่ด้านเดียวกันทั้งหมดในทิศตะวันตกเพื่อช่วยบังแดดให้กับห้องนั่งเล่น และเปิดพื้นที่ให้ห้องนั่งเล่นเกิดความโปร่งโล่งเชื่อมด้านหน้าและหลังอาคารต่อเนื่องกันเป็นช่องลมขนาดใหญ่ นอกจากนี้แล้วแนวอาคารของบ้านฝั่งตะวันตกของคุณน้ายังทำหน้าที่เป็นเกาะป้องกันความร้อนให้กับพื้นที่ชั้น 1 ของบ้านหลังนี้ไปด้วยในตัว
จากนั้นเมื่อเดินขึ้นบันไดมาสู่ชั้น 2 เราเกิดความแปลกใจที่ได้เห็นผนังกระจกบานหนึ่งบริเวณโถงบันได ถูกบิดองศาต่างจากบานอื่นให้มีทิศทางเว้าเข้ามาด้านในอาคารเล็กน้อย และสังเกตเห็นว่ามีช่องเปิดเล็กๆ บริเวณหัวมุมของห้องนอนใหญ่ ทำให้ชวนจินตนาการไปต่างๆ นาๆ ว่าสถาปนิกคงตั้งใจออกแบบทางผ่านของลมและแสงเข้าสู่ห้องนอนใหญ่มาอย่างนี้ตั้งแต่แรกกระมัง แต่เปล่าเลยเมื่อได้ฟังคำเฉลยของเจ้าตัวถึงแนวคิดดังกล่าว
“เวลาผมออกแบบบ้านจะค่อนข้างเป็นการออกแบบปลายเปิด ผมจะไม่ได้ออกแบบจนมันเสร็จเรียบร้อย อย่างบ้านหลังนี้ผมก็ออกแบบโครงสร้างให้เสร็จโดยกั้นผนังบางส่วนไปก่อน สุดท้ายเราต้องมาดูหน้างานว่าจริงๆ แล้วลมมันมาอย่างที่เราคิดด้วยหรือเปล่า แล้วก็เปิดโอกาสให้เจ้าของบ้านได้มาดูว่าห้องไหนที่เขาอยากได้ลมมากขึ้นหรือน้อยลง อย่างการเว้นช่องลมเข้ามาในห้องนอนนั้นมันทำให้เกิดเป็นกระจกเฉียง ก็เป็นการตัดสินใจที่เกิดขึ้นระหว่างสร้างบ้าน องศาของมันจะรับลมจากทางทิศใต้พอดี หากเราออกแบบโดยใช้ทฤษฏีหรือโปรแกรมคำนวณ มันไม่สามารถที่จะบอกได้จริงว่าลมมันจะมาจริงหรือเปล่า แต่อันนี้มาจริงแน่นอนเพราะเราใช้ตัวบ้านเป็นตัวทดลอง”
จากเหตุผลดังกล่าวนั้นทำให้เรารับรู้ได้ว่า รายละเอียดปลีกย่อยของบ้านหลังนี้เป็นสิ่งที่สถาปนิกให้ความสำคัญไม่แพ้รูปฟอร์มของอาคารแม้แต่น้อย เพราะรายละเอียดปลีกย่อยเหล่านั้นในบางครั้งก็สามารถเปลี่ยนบรรยากาศที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังการส่งมอบบ้านที่เขาเป็นผู้ออกแบบให้กับผู้อาศัย คงเหมือนดั่งคำที่สถาปนิกกล่าวไว้ว่า ความเป็นบ้านไม่ได้สะท้อนออกมาที่หน้าตาของบ้าน แต่สามารถรับรู้ได้จากการใช้งานอยู่ภายใน

สถาปนิกเลือกสีอาคารในโทนขาวและเทา ซึ่งสร้างเอฟเฟ็กต์ให้กับแสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์ได้ดีตามโจทย์ความต้องการของผู้อาศัย พร้อมเพิ่มความอบอุ่นน่าสบายด้วยการติดตั้งฝ้าเพดานไม้ และปูพื้นด้วยกระเบื้องยางลายไม้ สลับกับส่วนบันไดทางขึ้นที่สถาปนิกเลือกใช้ไม้จริงทั้งหมด

สถาปนิกเลือกสีอาคารในโทนขาวและเทา ซึ่งสร้างเอฟเฟ็กต์ให้กับแสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์ได้ดีตามโจทย์ความต้องการของผู้อาศัย พร้อมเพิ่มความอบอุ่นน่าสบายด้วยการติดตั้งฝ้าเพดานไม้ และปูพื้นด้วยกระเบื้องยางลายไม้ สลับกับส่วนบันไดทางขึ้นที่สถาปนิกเลือกใช้ไม้จริงทั้งหมด

ผนังกระจกบนชั้น 2 ออกแบบให้มีการเว้าเข้ามาด้านในเล็กน้อย เพื่อเปิดทางให้ลมจากทิศใต้สามารถพัดผ่านเข้าไปสู่ห้องนอนใหญ่และถ่ายเทลมออกทางทิศเหนือ

ผนังกระจกบนชั้น 2 ออกแบบให้มีการเว้าเข้ามาด้านในเล็กน้อย เพื่อเปิดทางให้ลมจากทิศใต้สามารถพัดผ่านเข้าไปสู่ห้องนอนใหญ่และถ่ายเทลมออกทางทิศเหนือ

พื้นที่ใช้สอยหลักบนชั้น 2 สถาปนิกบอกว่าหากเป็นช่วงเวลาเย็นในวันที่ฟ้าเปิด จะมีแสงแดดรำไรลอดผ่านช่องอาคารพาดเป็นแนวยาวต่อเนื่องในบริเวณฝ้าและผนังภายในห้องนอนใหญ่และห้องน้ำ นอกจากนี้ริมห้องนอนใหญ่ยังมีระเบียงที่ยื่นออกไปเพื่อสามารถนั่งรับลมชมวิวซึ่งเป็นจุดที่ลมดีที่สุดของบ้าน และเป็นตำแหน่งที่สามารถมองเห็นบ่อปลาตลอดจนแขกไปใครมาได้อย่างชัดเจน
DESIGN: POAR l Patchara + Ornnicha ARchitects