PATTERN OF BRUTALIST ARCHITECTURE

รื้อฟื้นวิถีอันแข็งกร้าว ของสถาปัตยกรรม Brutalist Architecture

คอนกรีตเปลือย กระจก เหล็ก และรูปลักษณ์แข็งกร้าวทึบทะมึน คือภาพจำของสไตล์สถาปัตยกรรม  “Brutalist Architecture”  ที่ก้าวนำความคิดผู้คนและปรากฏไปทั่วยุโรปและอเมริกาเมื่อราวกว่า 60 ปีที่แล้ว

ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950 ถึง 1970 ผู้คนในซีกโลกตะวันตกเริ่มตั้งคำถามต่อค่านิยมการสร้างอาคารกล่องสีขาวเรียบแบบเป็น “มาตรฐาน” ของอาคารสไตล์สากลหรือ “International style” ที่เป็นนิยมมาก่อนหน้านี้ การขาดมิติทางวัฒนธรรมของอาคารที่หน้าตาเหมือนกันทุกที่ นอกจากจะขาดสีสัน ยังทำให้เมืองและสภาพแวดล้อมขาด “จิตวิญญาณ” ที่สถาปนิกในยุคต่อมาเห็นตรงกันว่าเป็นเรื่องร้ายแรงและต้องเปลี่ยนแปลง

พวกเขาเริ่มมองหารูปแบบและวิธีการใหม่ๆ ในการสร้างความหมายและจิตวิญญาณให้เกิดขึ้นในสถาปัตยกรรม Brutalist Architecture ก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยเริ่มจากการนิยมออกแบบสถาปัตยกรรมให้เผยผิววัสดุคอนกรีตดิบๆ อย่างตรงไปตรงมา ที่เรียกกันในภาษาฝรั่งเศสว่า “Béton brut” ซึ่งแปลได้ว่า “Raw concrete” โดยกล่าวกันว่า Raynor Banham นักเขียนนักวิจารณ์สถาปัตยกรรมในยุคนั้นเป็นผู้ทำให้คำนิยามและสถาปัตยกรรมสไตล์นี้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยระบุว่าเป็นสไตล์สถาปัตยกรรมที่ขับเน้นการใช้วัสดุของยุคสมัยใหม่อย่างคอนกรีตเปลือยและนำเสนอความงามอันเคร่งขรึมอย่างอุตสาหกรรม และจิตวิญญาณอันทรงพลังอย่างตรงไปตรงมา

 

รวมถึงการสร้าง “Pattern” บนเปลือกอาคาร ซึ่งก็เป็นหนึ่งในวิธีการสร้างสรรค์อันเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมในยุคนี้ แพทเทิร์นที่ว่านั้นมักเกิดจากการทดลองใช้วัสดุใหม่ของยุคสมัยอย่างคอนกรีต มาสร้างเป็นรูปทรงเรขาคณิตตามคติความงามของศิลปะและสถาปัตยกรรมของยุคสมัยใหม่ แล้วประกอบซ้ำๆ กันให้ปรากฏไปทั่วเปลือกอาคาร ซึ่งถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัย การก้าวไปสู่ยุคใหม่ และเป็นการแสดงพลังสร้างสรรค์อันซื่อตรงไม่ปรุงแต่ง

ในไทยเอง กระแส Brutalist Architecture ก็มีปรากฏในหลายอาคารเก่าแก่ เช่น อาคาร Siri Apartment (ค.ศ.1970) ออกแบบโดยแดน วงศ์ประศาธน์ ที่โดดเด่นด้วยปล่องบันไดทรงกระบอกพร้อมช่องหน้าต่างวงกลมกระจายไปทั่ว อาคาร

ศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย (ค.ศ.1971) ออกแบบโดยไพจิตร พงษ์พรรฤก ที่มีโครงสร้างคอนกรีตแผ่เป็นหลังคาโมดูลาร์ 6 เหลี่ยมเชื่อมต่อกันคล้ายดอกไม้ หรืออาคารที่ได้ชื่อว่าเป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกในไทยอย่าง ห้างไนติงเกล ก็โดดเด่นด้วยเปลือกด้านหน้าที่ใช้คอนกรีตสร้าง “Pattern” แปลกตาแต่ขึงขัง สะท้อนค่านิยมความงามและความทันสมัยในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี

 

 

อย่างไรก็ตาม หากจะกล่าวถึงสถาปนิกที่ถูกยกย่องว่าเป็นต้นสายของรูปแบบสถาปัตยกรรมอันขึงขังนี้ หนึ่งในนั้นกล่าวได้ว่าคือสถาปนิกชาวสวิส-ฝรั่งเศสคนสำคัญคนหนึ่งของโลกสมัยใหม่ “Le Corbusier”

ประโยคอมตะหนึ่งของ Le Corbusier คือ “The be Modern is not fashion, but it is a state.” หรือกล่าวได้อีกอย่างว่า สถาปนิกผู้โด่งดังเชื่อมั่นอย่างยิ่งต่อการก้าวสู่ยุคใหม่ โดยเห็นว่าไม่ควรกระทำกันเพียงฉาบฉวย แต่ควรเป็นบรรทัดฐานที่คนทุกคนควรยึดถือและปฏิบัติต่อไป

Le Corbusier ยังกล่าวต่อว่า “It is necessary to understand history, and he who understands history knows how to find continuity between that which was, that which is, and that which will be.” ซึ่งหมายถึง ความจำเป็นในการทำความเข้าใจอดีตให้ถ่องแท้ เพื่อความเข้าใจในการสร้างปัจจุบันที่เหมาะสม อันจะนำมาซึ่งการ “ก้าวไปสู่ยุคสมัยใหม่” ที่เหมาะที่ควร

ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 Brutalist Architecture หมดความนิยมลงในช่วงหนึ่ง ด้วยรูปลักษณ์ที่แข็งกร้าวยากต่อการทำความเข้าใจ ทว่าในช่วงหลายปีมานี้ การรื้อฟื้นกลุ่มอาคาร Brutalism ในหลายเมืองทั่วโลกกลายเป็นกระแสของการอนุรักษ์อาคารที่มักถูกหลงลืม Brutalist Architecture จึงเป็นที่ยอมรับและเป็นที่โหยหามากขึ้นจากบทบาทในประวัติศาสตร์ของมันที่ไม่อาจปฏิเสธได้ กล่าวได้ว่า Brutalist Architecture กลายเป็นตัวแทนของจิตวิญญาณอันกล้าแกร่งที่เป็นที่แสวงหาของคนยุคใหม่ และกล่าวได้ว่ากลับมามีอิทธิพลอีกครั้งต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมในช่วงหลัง

NOBLE SUKHUMVIT 39 หรือในชื่อ NOBLE STATE 39 คอนโดมิเนียมแห่งใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในใจกลางกรุงเทพเป็นผู้นำคติความงามอย่าง Brutalism จากทศวรรษที่ 1950 – 1970 กลับมาเล่าใหม่อีกครั้ง ผ่านรูปลักษณ์อันเคร่งขรึมของอาคารสี่เหลี่ยมสูงใหญ่แข็งกร้าว โดยเฉพาะการนำ “Pattern” ที่มักปรากฏในหลายอาคารประวัติศาสตร์มาประยุกต์และสร้างสรรค์ใหม่ให้เข้ากับอาคารอยู่อาศัยยุคใหม่ ที่จะประสานศิลปะ สถาปัตยกรรม และงานวิศวกรรมเข้าด้วยกันอย่างลงตัว

ความเรื่องราวของศิลปะและสถาปัตยกรรม เป็นสิ่งที่ Noble คำนึงถึงอยู่ตลอดมาในทุกการสร้างสรรค์โครงการ การพยายามที่จะผสานศิลปะและสถาปัตยกรรมเข้าด้วยกันภายใต้คติอันทรงพลังอย่าง Brutalism ในอดีต จึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย และตอบโจทย์ความโดดเด่น ชัดเจน และเฉพาะตัวของ NOBLE STATE 39 ในครั้งนี้ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

ลงทะเบียน https://goo.gl/nb14Pd

ขอบคุณข้อมูลจาก NOBLE STATE 39 #NOBLESTATE39

 

Leave A Comment