P24 HOUSE / OFFICE AT
บ้านที่สอดรับปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ใจกลางกรุงที่ปรับตัวเข้าหาสภาพภูมิประเทศราบลุ่มในภาคกลาง และภูมิอากาศร้อนชื้นของเมืองไทย ก่อสร้างขึ้นโดยคำนึงถึงผลกระทบในอนาคต กรณีถ้าหากว่าเกิดเหตุอุทกภัยขึ้นอีกครั้งกับเมืองหลวงที่อยู่บนเส้นทางการไหลผ่านลงมาของมวลน้ำจากภาคเหนือและภาคกลางตอนบน บ้านหลังนี้จะยังคงลอยตัวอยู่เหนือมวลน้ำทั้งหมดได้ โดยไม่ได้รับความเสียหายอันใดจนยากเกินเยียวยา
และเป็นอีกหนึ่งครั้งที่ คุณเล็ก-สุรชัย เอกภพโยธิน และคุณเล็ก-จุฑาทิพย์ เตชะจำเริญ สองสถาปนิกจาก บริษัท ออฟฟิศ เอที จำกัด ได้ออกแบบสถาปัตยกรรมทั้งภายนอกและภายใน โดยคงไว้ซึ่งภาพลักษณ์ของอาคารที่เรียบง่าย บนพื้นที่ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องความแคบและยาวเข้ามาเป็นโจทย์รองจากความต้องการของผู้อยู่อาศัยที่อยากสร้างบ้าน 2 หลัง ตั้งอยู่ประชิดกันในที่ดินผืนเดียว อันเป็นหัวใจหลักในการออกแบบครั้งนี้

ภายใต้รั้วเดียวกันแต่อาคารทั้ง 2 หลังมีการแยกส่วนประตูทางเข้าสู่ลานจอดรถบริเวณใต้ถุน และทางขึ้นอาคารเป็นของตัวเอง อีกทั้งการสร้างอาคารยกพื้นสูงช่วยลดความกังวลกับการเผชิญปัญหาน้ำท่วมหรือไหลเข้าพื้นที่อยู่อาศัยชั้นล่างให้หมดไปในตัว

ภายใต้รั้วเดียวกันแต่อาคารทั้ง 2 หลังมีการแยกส่วนประตูทางเข้าสู่ลานจอดรถบริเวณใต้ถุน และทางขึ้นอาคารเป็นของตัวเอง อีกทั้งการสร้างอาคารยกพื้นสูงช่วยลดความกังวลกับการเผชิญปัญหาน้ำท่วมหรือไหลเข้าพื้นที่อยู่อาศัยชั้นล่างให้หมดไปในตัว
P24 เป็นชื่อเล่นที่สถาปนิกตั้งให้กับบ้านสีเทา-ขาว เดาได้ไม่ยากว่าตัวอักษร P ย่อมาจาก ‘พหลโยธิน’ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 และตัวเลข 24 คือลำดับของซอยที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นต้นสายของถนนเส้นหลักสำหรับสัญจรสู่ภาคเหนือนั่นเอง
ผนังก่ออิฐมวลเบาฉาบปูนทาสี, ผนังไม้เทียม, กระจกเขียวตัดแสง, แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต (Aluminum Cladding) และ หลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กมุงแผ่นหลังคาเหล็กเมทัลชีท คือหมู่มวลวัสดุหลักที่สถาปนิกนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคารทั้ง 2 หลัง โดยแนวคิดในการออกแบบบ้านบนพื้นที่ทั้งหมด 807 ตารางเมตร ถูกแยกย่อยออกเป็นอาคารพักอาศัยส่วนตัวสูง 3 ชั้น จำนวน 2 หลัง สำหรับ 2 พี่น้องที่มีความชื่นชอบแตกต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อย แบ่งออกเป็น อาคาร A ของพี่ชายทางฝั่งขวาของที่ดิน มีขนาดพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 355 ตารางเมตร และอาคาร B ของน้องชายทางฝั่งซ้าย มีขนาดพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 349 ตารางเมตร
ด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมภายนอกและงานภูมิสถาปัตยกรรม สถาปนิกคำนึงถึงการวางผังอาคารให้สอดรับไปกับขนาดของที่ดินที่แคบและยาว เปิดพื้นที่ว่างด้านหน้าของบ้านทั้ง 2 หลังให้เชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ ทั้งยังทำการยกชั้นล่างของบ้านทั้ง 2 หลังขึ้นสูงเพื่อสร้างใต้ถุนและทำให้เกิดการระบายอากาศที่ดี รวมถึงป้องกันน้ำท่วมแบบเรือนไทยอย่างที่กล่าวไว้ในย่อหน้าแรก
อีกหนึ่งจุดเด่นของบ้านแฝดคนละฝา คือส่วนของหลังคาหลักอันมีหน้าที่ปกคลุมก้อนอาคารด้านหลังให้เอื้อต่อสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นในเมืองไทย ซึ่งได้รับการออกแบบเป็นหลังคา 2 ชั้น เพื่อช่วยป้องกันและระบายความร้อนที่แผ่ลงมาปะทะจากด้านบนได้ดีกว่าปกติ โดยหลังคาส่วนที่ 2 นั้นสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีผิวด้านล่างและด้านบนเป็นแผ่นหลังคาเหล็กเมทัลชีท ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นเรื่องความเบาของน้ำหนัก สามารถมุงหลังคาให้มีความลาดเอียงได้ต่ำ ช่วยประหยัดโครงสร้าง สะดวกสำหรับการติดตั้ง และลดปัญหารั่วซึมของน้ำในช่วงรอยต่อได้ดีกว่าวัสดุมุงหลังคาชนิดอื่นๆ

ส่วนหลังคาหลักของทั้ง 2 อาคาร ได้รับการออกแบบเป็นหลังคา 2 ชั้น เพื่อเอื้อต่อสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นในเมืองไทย สังเกตว่าแผ่นหลังคาที่ครอบทับก้อนอาคารอยู่นั้นเป็นปราการด่านแรกที่จะช่วยลดอัตราความร้อนจากการปะทะลงมาของแดดจากด้านบน ในขณะที่ช่องว่างระหว่างแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กและก้อนอาคาร เป็นเสมือนช่องลมผ่านที่ช่วยระบายความร้อนไม่ให้เล็ดรอดเข้าสู่ตัวบ้านเป็นปราการด่านที่สอง

บริเวณช่องว่างระหว่างอาคารทั้ง 2 หลัง สถาปนิกออกแบบให้ 2 พื้นที่ของ 2 อาคารเกิดความต่อเนื่องเชื่อมโยงเข้าหากันผ่านช่องทางเดินลอยฟ้าบนชั้น 2

งานภูมิสถาปัตยกรรมเชื่อมพื้นที่กับชั้นใต้ถุนซึ่งจัดให้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ ห้องเก็บของ ลานจอดรถ บันไดทางขึ้น และส่วนซักรีดของบ้านทั้งสองหลัง
ด้านสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายใน ความเหมือนที่แตกต่างของพื้นที่อยู่อาศัยทั้ง 2 หลัง ถูกจัดสรรปันส่วนพื้นที่ใช้สอยภายในตามความต้องการของผู้อยู่อาศัยผู้พี่และผู้น้อง บ้านของพี่ชายทางฝั่งขวาออกแบบให้มีพื้นที่เปิดโปร่งแบบดับเบิ้ลสเปซบนอาคารชั้น 2 ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนอาคารสี่เหลี่ยมเหลื่อมล้ำออกมาประชิดริมรั้วในรูปตัว L ส่วนบ้านฝั่งซ้ายของน้องชายออกแบบให้มีระเบียงพักผ่อนบนชั้น 3 บริเวณริมสุดของอาคารแนวตรงราบแบบตัว I

พื้นที่พักอาศัยของพี่ชายในอาคาร A สถาปนิกออกแบบภายในชั้น 2 บริเวณส่วนของอาคารที่ยื่นออกมาในลักษณะปลายของตัว L ให้มีพื้นที่เปิดโปร่งแบบดับเบิ้ลสเปซ จัดสรรเป็นส่วนห้องนั่งเล่นที่เชื่อมต่อกับส่วนรับประทานอาหาร ห้องครัว และบันไดทางขึ้นและลงอันเป็นเส้นทางสัญจรหลักของอาคาร A

พื้นที่พักอาศัยของพี่ชายในอาคาร A สถาปนิกออกแบบภายในชั้น 2 บริเวณส่วนของอาคารที่ยื่นออกมาในลักษณะปลายของตัว L ให้มีพื้นที่เปิดโปร่งแบบดับเบิ้ลสเปซ จัดสรรเป็นส่วนห้องนั่งเล่นที่เชื่อมต่อกับส่วนรับประทานอาหาร ห้องครัว และบันไดทางขึ้นและลงอันเป็นเส้นทางสัญจรหลักของอาคาร A

พื้นที่พักอาศัยของพี่ชายในอาคาร A สถาปนิกออกแบบภายในชั้น 2 บริเวณส่วนของอาคารที่ยื่นออกมาในลักษณะปลายของตัว L ให้มีพื้นที่เปิดโปร่งแบบดับเบิ้ลสเปซ จัดสรรเป็นส่วนห้องนั่งเล่นที่เชื่อมต่อกับส่วนรับประทานอาหาร ห้องครัว และบันไดทางขึ้นและลงอันเป็นเส้นทางสัญจรหลักของอาคาร A

พื้นที่พักอาศัยของน้องชายในอาคาร B ภายในชั้น 2 ได้รับการจัดสรรโต๊ะรับประทานอาหาร ให้เชื่อมต่อกับไอร์แลนส์ แพนทรี และมุมนั่งเล่น จึงทำให้เอื้อสำหรับกิจกรรมการทำครัวและสังสรรค์ภายในครอบครัวบนพื้นที่ขนาดใหญ่
ด้วยความต้องการที่แตกต่างของสองผู้อยู่อาศัย ไม่ได้เป็นอุปสรรคของการสร้างอาคารคู่เคียงให้เกิดความขัดแย้งแปลกแยก ในทางกลับกันอาคารทั้ง 2 หลัง ยังคงเชื่อมโยงเข้าหากันเหมือนสายใยของพี่น้องที่ตัดกันอย่างไรก็ไม่ขาด อาคารสีเทา-ขาวที่ลอยเหนือพื้นดินกลางอากาศ สะท้อนเนื้องานของสถาปนิกที่ต้องการสื่อให้เห็นการผสมผสานระหว่างวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ เข้ากับวิธีการเอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติของคนไทยยุคดั้งเดิม จนกลายมาเป็นอาคารโมเดิร์นยกพื้นสูงจากดินที่โดดเด่น และแฝงไว้ด้วยประโยชน์ใช้สอยแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยอย่างแท้จริง
Architect:OFFICE AT
Structural Engineer: Sarawut Yuanteng
System Engineer: Petch Panyangam
Photo: Ketsiree Wongwan