MULTI-PLACE / EKAR


เปิด-ปิด-โปร่ง

หลายคนคงสงสัยกับความแปลกตาของรูปทรงอาคารในตัวเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตัวอาคารมีความโมเดิร์นมินิมอลขัดกับสภาพแวดล้อมโดยรอบของตัวเมือง

Multi-Place คือที่พักอาศัยในอาคารพาณิชย์ที่มีรูปทรงแปลกตาของครอบครัวสองพี่น้องเภสัชกร และสัตวแพทย์ จากเดิมทั้งสองครอบครัวต่างอยู่คนละที่และมีคลีนิคอยู่คนละแห่ง ทั้งคู่ตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่เดียวกัน โดยได้ที่ดินขนาดแคบแต่มีความลึก โดยได้สถาปนิก คุณเอกภาพ ดวงแก้ว จาก Ekar Architects เป็นผู้ออกแบบ

โดยตัวสถาปนิกพยายามเอาบ้านทั้งสองบ้านมารวมกัน จึงเกิดเป็นไอเดีย Multi-Place “เวลาทำงานผมจะเริ่มต้นจากหาcoreของโจทย์ก่อน หยิบเนื้อหาสำคัญมารวมกันและคัดกรองจนเหลือหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจ”

ความท้าทายของ Multi-Place บนพื้นที่ 1,050 sqm 11,302 sq.ft กับเงื่อนไขความต้องการที่หลายฟังก์ชั่นการใช้งาน อาทิ คลีนิคสัตวเเพทย์ ร้านขายสัตว์เลี้ยง ร้านขายยา โฮลเทล ร้านกาแฟ ห้องประชุมให้เช่า และบ้านอยู่อาศัย

มีการเปิด-ปิด-โปร่ง ส่วนพื้นที่สาธารณะมีช่องเปิดเพื่อรับแสงธรรมชาติ และส่วนพื้นตัวส่วนตัวจะใช้เป็นช่องปิดสลับกับช่องเปิด

“ผมพยายามที่จะเอาบ้านสองบ้านมารวมกัน แต่ด้วยโจทย์ที่เจ้าของบ้านไม่อยากให้รวมกัน อยากจะมีพื้นที่ส่วนตัว ผมจึงเพิ่มพื้นที่สวนเข้าไป เพื่อทำความซับซ้อนให้กลมกล่อมและพอดี อีกทั้งสวนยังเป็นส่วนเติมเต็มให้บ้านมีพื้นที่สีเขียว”

อีกสิ่งหนึ่งที่มีความยากของบ้านหลังนี้ คือการรวมความต้องการของเจ้าของบ้านเข้าด้วยกัน“ความซับซ้อนบนความหลากหลายของฟังก์ชั่น ด้วยความต้องการที่หลากหลาย บวกกับเงื่อนไขที่ซับซ้อน ความยากอีกสิ่งคือ เรื่องการปรับความคิดให้ออกมาใช้งานได้จริงได้เรียนรู้สิ่งที่เราคิดกับสิ่งที่เกิดขึ้นที่ไม่สามารถสร้างจริงได้”

การเลือกวัสดุเป็นอีกสิ่งที่มีความท้าทาย ด้วยข้อจำกัดที่ต้องใช้วัสดุพื้นถิ่น“ ผมต้องใช้วัสดุพื้นถิ่นที่หาได้ในพื้นที่ ราคาไม่แพง แต่ผลออกมาต้องดูสวยและตอบโจทย์ ” วัสดุพื้นถิ่นที่หาได้จากจังหวัดสุราษณ์ธานี อาทิ ไม้สัก ไม้เนื้อแข็ง คอนกรีตบล็อก กระเบื้อง กระจก และปูนเปลือย

เนื่องจากอาคารมีขนาดยาว จึงเปิดโล่งบริเวณกลางบ้านให้เป็นสวน เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางของตัวอาคารทั้งสอง

เนื่องจากอาคารมีขนาดยาว จึงเปิดโล่งบริเวณกลางบ้านให้เป็นสวน เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางของตัวอาคารทั้งสอง

เนื่องจากอาคารมีขนาดยาว จึงเปิดโล่งบริเวณกลางบ้านให้เป็นสวน เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางของตัวอาคารทั้งสอง

เปิด-ปิด-โปร่ง จึงตอบโจทย์บ้านหลังนี้ได้เป็นอย่างดี ด้วยสภาวะพื้นที่ที่มีความวุ่นวายและมีมลพิษทั้งทางเสียงและอากาศ คุณเอกได้ออกแบบfacadeโดยใช้ความเรียบง่ายของอิฐบล็อก แต่มีลูกเล่นการจัดการที่ลงตัว มีช่องเปิดและช่องปิดที่สอดคล้องกับการใช้งาน

“ ชั้นล่างจะเปิดโล่ง เพื่อรับแสงธรรมชาติและให้ความรู้สึกโปร่งสบาย เป็นพื้นที่นั่งเล่น ด้านบนบริเวณห้องนอน จะมีช่องเปิดน้อย เพื่อความเงียบและกันเสียงรบกวน อีกฝั่งด้านล่างจะทึบเพราะต้องการลดเสียงและควัน ส่วนด้านบนมีความโปร่ง ” เป็นการเล่นกับลำดับความสำคัญของพื้นที่ภายในอาคารที่ส่งผลกับภายนอกอาคาร

“ผมใช้เวลาออกแบบ1ปี กับระยะการสร้างอีก2ปี ถือเป็นผลงานที่ผสมผสานสิ่งรอบข้างหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน ผมเชื่อว่างานบ้านที่ออกมาดีต้องตอบสนองความต้องการของเจ้าของบ้าน สถาปัตยกรรมที่ดีเกิดจากเจ้าของและสถาปนิก”

มีการเล่นดีเทลชั้นไม้เหมือนขั้นบันไดของตัวโน๊ต เนื่องจากเจ้าของบ้านมีความชอบเปียโน

ภายในใช้วัสดุอิฐบล็อคเพื่อก่อเป็นผนังและชั้นหนังสือ สร้างฟังก์ชั่นที่หลากหลายให้กับผู้ใช้งาน

กลางบ้านเปิดโล่ง และใช้กระจกเพื่อให้บ้านดูมีความโปร่ง

รายละเอียดของช่องอิฐลบล็อก ที่มีการทำส่วนทึบโดยการนำไม้มาใส่ในช่องทำให้เกิดฟังก์ชั่นการใช้งานและสร้างจังหวะขององค์ประกอบ

เน้นใช้วัสดุพื้นถิ่นที่หาได้ทั่วไป ไม้สัก ไม้เนื้อแข็ง คอนกรีตบล็อก

เปิดช่องแสงธรรมชาติด้วยอิฐบล็อกบริเวณทางเดินของตัวอาคาร

TEXT : ณิชา เตชะนิรัติศัย
PHOTO : Chalermwat Wongchompoo

Leave A Comment