LIGHT, SPACE, LIFE
"ผมให้ความสำคัญแสงกับช่วงเวลา ละเอียดกระทั่งเวลาบ่ายสามโมงแสงที่ส่งเข้ามาทางช่องหน้าต่างจะเป็นแบบใด ผมมองทางอารมณ์และศิลปะ ซึ่งเรื่องแสง ผมไม่ได้นั่งบอกว่าชอบ แต่มันเป็นความชอบส่วนตัวเองแบบไม่รู้ตัว" ณัฏฐวุฒิ พิริยประกอบ
"ผมให้ความสำคัญแสงกับช่วงเวลา ละเอียดกระทั่งเวลาบ่ายสามโมงแสงที่ส่งเข้ามาทางช่องหน้าต่างจะเป็นแบบใด ผมมองทางอารมณ์และศิลปะ ซึ่งเรื่องแสง ผมไม่ได้นั่งบอกว่าชอบ แต่มันเป็นความชอบส่วนตัวเองแบบไม่รู้ตัว" ณัฏฐวุฒิ พิริยประกอบ
“ขาว-เทา-ดำของผมเป็นเรื่องแสง เป็นสิ่งที่ไม่มีการปรุงแต่ง เวลาเราอยู่ในพื้นที่สีดำให้ความรู้สึกเหมือนเป็นความว่างเปล่าที่มีความลึก ขาวกับดำมันคือธรรมชาติทั้งหมดในโลกนี้ สีต่างๆ คือภาพสะท้อน" ภากร มหพันธ์
“ถ้าสังเกตงานที่เริ่มทำจะคิดจาก Geometry Form เราจะชอบอะไรที่มัน simple ถ้าดูจากงานบ้านปลายหาด คล้ายกับมี Mass บางอย่างมาล้อกัน หรือจะเป็นบ้านนครปฐม (บ้านสามเหลี่ยม) ก็จะเอา Geometry รูปสามเหลี่ยมมาล้อมาเล่นก่อน เราอยากเริ่มต้นจากตรงนี้ บางครั้งถ้ามันเรียบไป ธรรมดาไป เราอาจจะเพิ่ม texture หรือ detail ให้เกิดความน่าสนใจขึ้น” พงศ์ภัทร เอื้อสังคมเศรษฐ์
“การวาดภาพประกอบเป็นความฝันเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ได้กลับมาทำแล้วก็มันก็เป็นความสุขที่เป็นตัวของตัวเองแบบไม่เคยเป็นมาก่อน ตอนทำงานในสายแฟชั่น จะมีพ่วงมาด้วยมันเหมือนเป็นมงกุฏ แต่ทุกวันนี้พอเราถอดมงกุฏเราจะไม่แคร์อะไรอีกเลย ฉันอยากทำฉันทำ แล้วก็มีอิสระมากๆ ก็ต้องเข้าใจนะคนทำหนังสือรายปักษ์รายเดือน ซึ่งตอนแรกพี่กลัวกับการไม่มีสื่อไม่มีสังกัด พี่คิดจะลาออกตั้งแต่ครบ 15 ปี ก็ยื้อยั้งอยู่อย่างนี้ เลยทำอะไรไม่สุดสักทางเลยคราวนี้ วาดรูปก็ไม่ได้ ทำแพรวก็ไม่ดี โฆษณาเขาเข้ามาแล้วกำลังถ่ายๆ อยู่ก็ต้องรับโทรศัพท์ บก.เรียกประชุม มันเป็นความกดดันมากเลยกับการที่รับผิดชอบอะไรได้ไม่เต็มที่สักทางหนึ่ง” แมน-กวี ลักษณะสกุลชัย อดีตสไตลิสต์ชื่อดังแห่งนิตยสารแพรวและงานบันเทิง
"ตอนเริ่มเป็นสถาปนิกใหม่ๆ จัดตัวเองให้อยู่ในโมเดิร์นสถาปนิกนะ ต้องออกแบบอย่างตรงไปตรงมา ต้องแสดงให้เห็นเนื้อแท้ของวัสดุ สุดท้ายนี่ล่ะเป็นกำแพงที่ขังเราไว้ในกล่อง" Agaligo Studio
"รางวัลที่ได้เป็นครั้งแรกคือ กุฏิ วัดเขาพุทธโคดม AR Award ได้จากการออกแบบชิ้นเล็กมากๆ ผมชอบรางวัลนี้ เพราะเจ๋งตรงที่เขาไม่ได้พูดถึงมูลค่า แต่พูดถึงคุณค่า คือบางงานอาจไม่มีมูลค่าเลยสำหรับงานก่อสร้าง แต่มีคุณค่าจึงได้รางวัล" สุริยะ อัมพันศิริรัตน์
"Supermachine ไม่ได้ทำอะไรใหม่ แต่เราแค่พยายามทำสิ่งที่เราไม่เคยทำ เช่น เราอยากทำโครงสร้างหลังคาที่ทำจากอบแล้วเอามาดัด ซึ่งเมืองไทยไม่ค่อยทำ ถ้าเรามีโอกาสก็อยากทำ แต่ไม่ได้หมายความว่าเทคโนโลยีดัดไม้แล้วเอามาทำเป็นหลังคาไม่เคยเกิดขึ้นก่อนในโลก ยุโรปเขาก็ทำมาแล้ว แต่เรายังไม่เคยทำ ส่วนใหญ่จะเป็นพยายามหาอะไรแตกต่างให้เราทำไปเรื่อยๆ ชีวิตจะได้ไม่เบื่อ" ปิตุพงษ์ เชาวกุล สถาปนิกผู้ก่อตั้ง Supermashine Studio
“ที่เดิมพื้นที่มันค่อนข้างจำกัด เป็นแค่ห้องเล็กๆ ห้องหนึ่ง แต่ของของเรามันชิ้นใหญ่ ผสมกับที่เรามีเวิร์กช็อปอยู่ตรงนี้แล้วมันยังมีที่ว่างเหลืออยู่ ก็เลยสร้างตรงนี้เพิ่มแล้วย้ายมารวมกันอยู่ในที่เดียว ลงทุนทำที่นี่ไปประมาณหนึ่งแต่จ่ายค่าเช่าถูกลง เพราะตรงนั้นหน้าร้านราคามันสูงกว่ากันเยอะ” วิชร ทองหล่อ
วัฒนธรรมของการทำงานที่นี่ ไม่ใช่งานของผมที่ดีที่สุด แต่เป็นงานของ IF ที่ดีที่สุด พวกเราไม่เคยมีใครบอกว่างานผม มีแต่คำว่างานเรา ผมว่ามันเชยแล้วที่บริษัทสถาปนิกจะทำคนเดียว ผมว่ายุคนี้มันต้องทำงานร่วมกันมันถึงจะเท่