P.W. INTER BOOKSTORE
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ หรือ พว. เปิดประตูแห่งจินตนาการบานใหม่ ด้วยอาคารรีโนเวทดีไซน์ทันสมัย บนถนนนครไชยศรี เขตดุสิต จากฝีมือการออกแบบของกลุ่มสถาปนิกรุ่นใหม่ Tidtang Studio
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ หรือ พว. เปิดประตูแห่งจินตนาการบานใหม่ ด้วยอาคารรีโนเวทดีไซน์ทันสมัย บนถนนนครไชยศรี เขตดุสิต จากฝีมือการออกแบบของกลุ่มสถาปนิกรุ่นใหม่ Tidtang Studio
การทดลองการก่อรูปสถาปัตยกรรมด้วยการ ‘พับ’ เป็นแนวคิดหลัก ที่ทำให้หน้าตาของบ้านไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในรูปแบบกล่องสี่เหลี่ยม ที่ว่างภายในที่เกิดจากการล้อมกรอบอย่างหลวมๆ ทำให้พื้นที่ภายในและภายนอกบ้านสามารถสื่อสารกันได้อย่างทะลุปรุโปร่ง
สถาบันปลูกป่า ปตท. ริเริ่มพัฒนาพื้นที่สีเขียวในที่ดินที่เคยรกร้างของ ปตท.จำนวน 12 ไร่ 1 งาน 2 ตารางวา ขึ้นบนถนนสุขาภิบาล 2 เขตประเวศ เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้การปลูกป่าเชิงนิเวศแบบยั่งยืนตามวิถี ปตท.
“ถ้าเทียบกับการซื้อบ้านใหม่ ด้วยความที่เราอยากจะอยู่กลางเมืองส่วนใหญ่ด้วยราคาเท่านี้ บ้านก็คงต้องอยู่นอกเมืองออกไปแล้ว แล้วอีกอย่างนึงคือฟังก์ชันบ้านตรงนั้น ก็คงไม่เหมือนกับที่เราอยากได้ ผมคงไม่ได้มองที่ความคุ้ม แต่มองที่จริงๆ เราอยากได้อะไรมากกว่า” กุลเชษฐ์ ชลทรัพย์
“ถ้าถามว่าทำไมชอบบ้านเก่า จริงๆ ไล่ไปตั้งแต่ความชอบส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นของ สังเกตดีๆ จะมีแต่ของเก่า แต่ถ้าอะไรต้องใช้งาน เช่น ตู้เย็น ทีวี เป็นของเก่าก็คงไม่เวิร์ก อย่างอื่นที่เป็นเฟอร์นิเจอร์ เป็นพร็อพ ของเก่ามันมีเสน่ห์ ผมจะไม่มีของโมเดิร์นเลย ผมไม่ชอบยุคโมเดิร์น” มนต์ธนัช เกศมนตรี
“การได้อยู่ในสิ่งที่คุ้นเคยมันทำให้มีความสุข ซึ่งถ้าตอนนั้นตัดสินใจทุบ บ้านหลังนี้ก็จะหายไปเลยซึ่งเราก็จะรู้สึกเสียดาย การรีโนเวตบ้านเก่ามันจึงไม่ได้เป็นการทิ้งความทรงจำเก่าๆไป แต่เรายังสามารถเก็บความทรงจำทั้งหมดไว้ จากสิ่งที่เรามองเห็นได้อย่างเสาต้นนี้เป็นเสาบ้านเก่านะ คานไม้ก็ยังทำให้นึกถึงความทรงจำตั้งแต่รุ่นปู่ย่า มันจึงเป็นอีกสเน่ห์หนึ่งของการรีโนเวต” ประเสริฐ ชัยสิทธิฤกษ์กุล
“ตอนแรกคิดว่าจะทำแค่ร้านขายน้ำผักเฉยๆ แต่ว่าเราผ่านตึกนี้ เราเห็นตึกนี้มานานแล้วค่ะ พอเราเข้ามาดูแล้วรู้สึกดีกับตึกนี้ แต่พอดีมันต้องรีโนเวทเยอะมาก ก็เลยชวนคุณตั้ม เป็นสถาปนิก แล้วก็คุณม่อน กับคุณบุบ เป็นอินทีเรียดีไซเนอร์มานั่งคุยกัน 4 คน ว่าต้องการรักษาอาคารให้คงสภาพเดิมไว้มากที่สุด เพราะร้านอาหารเราเป็นธรรมชาติ การตกแต่งก็ไม่ควรต้องมาเฟกอะไรมากให้มันเป็นเทรนดี้เกินไป” ณยา เอียร์ลิคซ์-อาดัม
“เรารู้สึกว่าบ้านเราทำของถูก แต่มาดูกระบวนการจริงๆ กว่าจะทำขึ้นมาได้ชินหนึ่งมันใช้เวลานาน มันไม่ใช่เครื่องจักรสั่งกดปุ่มแล้วปั๊มๆๆ มันไม่ง่ายเลย เราก็เลยตั้งโจทย์ให้คนต้องปฏิสัมพันธ์กับมันใหม่ เลยเป็นที่มาของชื่อ ease ที่แปลว่าทำให้ช้าลง นึกถึงแอ็กชั่นตอนที่ก้นสัมผัสโซฟาครั้งแรกแล้วปึ้ง! เราอยากสร้างโมเมนต์แบบนี้ให้กับงานปัก ให้คนค่อยๆ ดู ค่อยๆ จำมัน เหมือนงานศิลปะ” วนัส โชคทวีศักดิ์
“ลองคิดดูสิว่า กระบวนการในการที่เราสร้างอาคารหลังนี้ขึ้นมากับสิ่งที่เป็นการรับรู้ของคนที่มองเข้ามา คนส่วนใหญ่อาจจะมองว่ามันมินิมอล แต่ว่าจุดเริ่มต้นของเรามันไม่ใช่ ในขณะเดียวกันแม้กระทั่งชื่อตัวแกลเลอรีของเราเองก็ตาม คนจะต้องตั้งคำถามว่า ทำไมต้องมี City สองตัว มันก็ดีตรงที่เราทำให้คนได้ตั้งคำถามด้วยเหมือนกัน ซึ่งจริงๆแล้ว ศิลปะร่วมสมัย ส่วนหนึ่งมันก็มีความหมายอยู่ในลักษณะแบบนี้ด้วย” ลูกตาล - ศุภมาส พะหุโล