CategoryInterior

A MODERN LAKESIDE RESIDENCE

“เราชอบตรงนี้เพราะเป็น Environment ที่เงียบ หน้าที่การงานของเรามีการออกไปข้างนอก บางวันอยู่บนรถทั้งวันตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ เราจึงต้องการสถานที่ที่พอถึงบ้านแล้วมีการผ่อนคลาย ได้เห็นธรรมชาติ ก็เลยตัดสินใจมาซื้อที่นี่" มาริวิค เฮลสเติร์น 

’70s MEMORIES

“ห้องนี้เหมือนแต่งย้อนไปตอนที่เราเริ่มโต มันเป็นภาพที่ยังเบลอๆ เพราะเราโตมาประมาณยุค ’70s ปลายๆ ยังเห็นที่บ้านเป็นฮิปปี้กันอยู่ ทุกคนไว้ผมยาว ใส่กางเกงขาบาน มาเพ้นท์รูปที่บ้าน และก็ยังทันเห็นเขาแต่งห้องแบบนั้นอยู่ มันเป็นความทรงจำจางๆ ที่นึกถึงแล้วอารมณ์ดี” ชาญฉลาด กาญจนวงศ์  

DRACULA’S ROOM

Daybeds กดรหัสผ่านประตูนิรภัยเข้าสู่ภายในห้องคอนโดมิเนียมแบบดูเพล็กซ์ ขนาด 136 ตารางเมตรของ ดร.นพพร เรืองวานิช ผู้อำนวยการหลักสูตรควบตรี-โท ทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ผสานความขรึมเข้มราวกับห้องแดร็กคูล่าอย่างไรอย่างนั้นเข้าด้วยกันกับความหรูหราและคลาสสิก ที่เผยโฉมให้เห็นอยู่ในทุกอณูของห้องอย่างลงตัว อาจกล่าวได้ว่าห้องนี้ตกแต่งโดยสะท้อนไลฟ์สไตล์เจ้าของห้องก็ไม่ผิดนัก 

ABC ESSENCE IN EATERY

การตกแต่งร้านได้รับความร่วมมือจากอินทีเรียดีไซเนอร์ ArchitechKidD ภายใต้โจทย์ Make it Simple but Significant จึงดีไซน์ในแบบเรียบง่าย เน้นความเป็นธรรมชาติในโทนสีขาว โดดเด่นด้วยเพดานโค้งดีไซน์ที่คล้ายกับรังผึ้ง แต่แท้จริงแล้วคือเซลล์ของอาหารยามมองผ่านกล้องไบโอสโคป ซึ่งสะท้อนรับกันกับแสงแดดที่ส่งผ่านกระจกบานใหญ่ ให้ได้ชมวิวต้นไม้ภายนอกอาคาร ท่ามกลางบรรยากาศที่อบอุ่น และเป็นกันเอง 

VIVARIUM BY CHEFS MINISTRY

HYPOTHESIS คือผู้รับหน้าที่คิดคอนเซ็ปต์ แบรนด์ดิ้ง และการตกแต่งภายใน ร่วมกับ Stu/D/O Architects ที่รับผิดชอบด้านการออกแบบ Façade ทีมออกแบบเลือกที่จะเก็บรักษาโครงสร้างเดิมของโกดังแห่งนี้ไว้ทั้งหมด โดยใช้การเพ้นท์สีทับลงไปทั้งในส่วนของโครงสร้างเดิมและประตูเหล็กที่สร้างขึ้นมาใหม่ด้วยสีแดงเข้ม หรือมาร์ซาลา จึงให้ความรู้สึกคล้ายกับว่าโกดังเก่าแห่งนี้กำลังขึ้นสนิม ช่วยสร้างบรรยากาศให้โกดังดูเก่าและมีเสน่ห์ยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้สีแดงเข้มยังกลายมาเป็นโทนสีหลักที่เป็นเอกลักษณ์ของร้านอาหารอีกด้วย 

HASHME

ปฏิเสธไม่ได้ว่าอิทธิพลของเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำเปรียบเสมือนพลังขับเคลื่อนโลกให้หมุนเร็วขึ้นในความรู้สึก โดยเฉพาะในยุคที่เครือข่ายสังคมออนไลน์ย่อโลกทั้งใบมาอยู่ใกล้เพียงปลายนิ้วสัมผัส การถือกำเนิดของสมาร์ทโฟนถ่ายภาพคมชัดทั้งกล้องหน้าและกล้องหลัง ตลอดจนแอพลิเคชั่นยอดฮิตต่างๆ ที่สามารถถ่ายภาพได้ปุ๊ป แต่งภาพได้ปั๊ป ใส่แคปชั่นติดแฮชแท็กแล้วแชร์ได้เลยทันทีหาก 3G หรือ 4G ไม่หมดเสียก่อน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวแปรเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนผันไปตามยุคสมัย อาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมใหม่ของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันไปแล้วก็ไม่ผิดนัก 

UNILEVER HOUSE

อาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ ‘ยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์’ ด้วยรูปแบบของการลงทุนในอาคารแบบการเช่าระยะยาว เป็นอาคาร 12 ชั้น พื้นที่อาคารรวม 48,000 ตร.ม. และพื้นที่ใช้เป็นสำนักงาน 18,000 ตร.ม. ภายใต้แนวคิดในการออกแบบ 3 ประการ คือ ความยั่งยืน (Sustainability), การทำงานแบบคล่องตัว (Agile Working) และ การเชื่อมต่อ (Connectivity in the Building) 

PDM STUDIO

“ทำงานที่บ้านผมว่ามันก็รู้สึกดีนะครับ วันไหนไม่มีงานสอนก็ลงมาเจอออฟฟิศ นั่งทำงานเลย พ่อกับแม่เดินลงมาก็อยู่ใกล้กันดี น้องไปทำงานก็ผ่านทางนี้ แถวนี้ของกินอร่อย แล้วมันเป็นโซน Culture Area ด้วย แถวนี้มันไม่ได้หรูหราเหมือนย่านเอกมัย แต่ผมว่ามันได้เห็นชีวิต มันจะไม่แห้งเหมือนสตูดิโอเมืองนอก” ดุลยพล ศรีจันทร์ 

HERE TO STAY (UNTITLED HOUSE BY DSTGR)

“หน้าที่ของสถาปนิก หรือนักออกแบบ คือต้องแก้ไขปัญหาเรื่องการใช้พื้นที่ให้อยู่ในงบประมาณ เขามีที่อยู่แล้วเราก็แค่ใช้พื้นที่ตรงนั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด มันยิ่งทำให้เรารู้สึกสนุก” นนทวัฒน์ เจริญชาศรี 

TREASURE HOUSE

“ก่อนหน้านี้บ้านจะตกแต่งแบบมินิมอล แต่ผมชอบความดิบบวกกับชอบออกแบบด้วย เลยอยากจะทำบ้านในแบบที่เราชอบและอยากให้มันเป็น" โทนี่ รากแก่น